ส้มตำปูปลาร้า
ส่วนประกอบและเครื่องปรุง
1.มะละกอดิบหั่นฝอย 2
ถ้วยตวง
2.ถั่วฝักยาว 1/2
ถ้วยตวง (หั่นความยาวประมาณ 1″ )
3.แครอทหั่นฝอย 1/2
ถ้วยตวง (สูตรอีสานแท้ ๆ ไม่ใส่เด้อ)
4.น้ำตาลปี๊บ 1 1/2
ช้อนโต๊ะ (ถ้าเป็นสูตรอีสานแท้ๆ ไม่ใช้น้ำตาล)
5.น้ำมะนาว 3
ช้อนโต๊ะ
6.มะเขือเทศ 1/2
ถ้วยตวง (หั่นครึ่ง)
7.พริกแห้งหรือพริกสด 3-5
เม็ด เผ็ดตามใจมัก
8.กระเทียมสด 5
กลีบ
9.ถั่วฝักยาวหั่น 5
ชิ้น
10.น้ำปลา 2
ช้อนโต๊ะ
11.ปูนา หรือปูทะเล 1
ตัว
12.น้ำปลาร้า 1
ช้อนโต๊ะ
13.น้ำมะขามเปียก
ขั้นตอนการทำ
1.สับมะละกอที่จัดเตรียมไว้ ให้ได้เส้นมะละกอหยาบ
ๆ และแครอทหั่นฝอย 1/2 ถ้วยตวง
2.เตรียมครก กระเทียม พริก
โคกให้ละเอียดพอดีคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.จากนั้นใส่มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว อีปู มะนาว
น้ำปลาร้า น้ำปลา น้ำตาลปี๊ปปรุงรสชาติให้อร่อย
4.ใส่เส้นมะละกอที่เตียมไว้ใส่ลงไปตำ
พอให้บุบไม่ต้องตำจนแลกละเอียด เดียวไม่อร่อยเด้อ
5.ตำ ๆ ๆ ค้น ๆ ให้เข้ากันกับเครื่องปรุง
ชิมได้ทีแล้วตักเสร็ฟใส่จาน แซบอีหลีมื้อหนี้
ก้อยไข่มดแดง
ส่วนน้ำพริก ประกอบด้วย พริกแห้งหรือพริกสด
ตะไคร้และหัวหอม อาจใส่ขมิ้นชันเล็กน้อย (บางครอบครัว) ในแกงที่มีปลา กบ
เขียดหรืออึ่งอ่าง เพื่อดับกลิ่นคาว
ไก่ย่างสมุนไพร
ข้าวผัดปลาเค็ม อาหารไทย
จำได้ว่าครั้งแรกที่คยกินข้าวผัดปลาเค็มเลย
คือที่มหาชัย สมุทรสาคร แหล่งปลาเค็มและอาหารทะเลนั่นเอง ได้กินครั้งแรกก็ติดใจเลย
ข้าวผัดปลาค็มเลยกลายเป็นอาหารตามสั่งอีกเมนูอาหารหนึ่งที่ชอบสั่งตามร้านอาหาร
แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีให้สั่ง จะมีแต่ข้าวผัดแหนม ข้าวผัดปูซะมากกว่า
ดังนั้นเลยมาหัดทำเองดีกว่า ซึ่งข้าวผัดปลาเค็ม ก็ทำง่ายๆเหมือนข้าวผัดทั่วๆไป
ดังนี้
วัตถุดิบและเครื่องปรุงข้าวผัดปลาเค็ม อาหารไทย
1. ข้าวสวยร้อน ๆ 1 ถ้วยใหญ่
2. ปลาเค็ม เอาเป็นปลาอินทรีเค็ม 1/3 ตัว
หรือประมาณ ½ ถ้วยเล็ก เอามาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ไม่เอาก้าง
3. ต้นหอม 2-3 ต้น หั่นเล็ก
4. กระเทียม 4-5 กรีบ ทุบ
5. มะเขือเทศ 2-3 ลูก ผ่าครึ่ง
6. ผักคะน้า 1-2 ต้น(ส่วนใหญ่ต้นใหญ่มาก)
หั่นเป็นท่อน สวนโคนต้นให้ทุบก่อน
7. พริกสด 2-3 เม็ด เอามาหั่นเป็นท่อนเล็ก
(เอาไว้เป็นลูกระเบิด อิอิ)
8. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
9. ไข่ไก่ 2-3 ฟอง
10. ซิอิ๊วขาวหรือซีอิ๊วดำ 1 ช้อนโต๊ะ
11. ซอสหอย 2-3 ช้อนโต๊ะ
12. น้ำมันหอย (ไม่ใส่ก็ได้)
13. น้ำปลา
14. น้ำตาล
15. ผงชูรส
16. แครอท 1/2 ถ้วยเล็กๆ
ซุปหน่อไม้
ซุปหน่อไม้เป็นอาหารที่เป็นที่นิยมของชาวอีสานเช่นกัน ซึ่งสามารถหากินได้แทบจะทุกจังหวัด
แต่กรมวิธีในการปรุงซุปหน่อไม้นั้นอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละถิ่น แต่ก็ไม่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง
ซุปหน่อไม้ก็เช่นเดียวกับอาหารอื่นๆของภาคอีสานคือจะมีรสจัดจ้าน และมีเครื่องปรุงหลักที่ขาดไม่ได้เลยคือ น้ำปลาร้า
เรียกได้ว่าชาวอีสานทุกครัวเรือน
จะต้องมีน้ำปลาร้าประจำอยู่ในครัว
ถ้าไม่มีอาหารอะไรก็จะเอาปลาร้ามาตำน้ำพริกรับประทานกับผักสดที่ปลูกอยู่ข้างบ้าน
ถือเป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ที่มีลักษณะการดำรงชีวิตแบบง่ายๆ คือ
อยู่ง่ายๆ กินง่ายๆ
และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่รอบๆตัวให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรู้จักประยุกต์ใช้ทรัพยากรในหลายๆด้าน
หน่อไม้รวกขูดเป็นเส้นฝอย 300 กรัม
ใบย่านาง 20
ใบ (15 กรัม)
น้ำคั้นจากใบย่านาง 2 ถ้วย
น้ำปลาร้า ½
ถ้วย (50 กรัม)
เกลือ ½
ช้อนชา (4 กรัม)
น้ำปลา 1
ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
มะนาว 2–3
ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
ผักชีฝรั่งซอย 2
ต้น (7 กรัม)
ต้นหอมซอย 2
ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
ใบสะระแหน่เด็ดเป็นใบ ½ ถ้วย (50 กรัม)
งาขาวคั่ว 1
ช้อนชา (8 กรัม)
พริกป่น 1
ช้อนชา (8 กรัม)
ข้าวเหนียว 1
ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
วิธีทำ
- นำหน่อไม้มาเผาไฟหรือต้มให้สุก
นำมาขูดเป็นเส้นฝอยๆโดยใช้ส้อมหรือเข็มขูดตัดเป็นท่อนประมาณหนึ่งคืบ แล้วนำไปต้มให้หายขม
- ใบย่านาง คั้นให้ได้นำค้นเขียวประมาณ2ถ้วย
- คั่วงาโดยใช้ไฟอ่อนๆ แล้วร่อนเอาฝุ่นอกให้หมด
โขลกให้ละเอียดเอาไว้โรยหน้าหรือจะโขกรวมกับซุปหน่อไม้ก็ได้
- หั่นผักทุกชนิดแบบฝอย หอมแดงเผา พริกสดเผา
โขลกรวมกัน
- นำหน่อไม้มาบีบน้ำออกให้หมด
ใส่ลงในนำใบย่านาง
เติมเกลือน้ำปลาน้ำปลาร้า แล้วต้มให้น้ำย่านางสุกจนน้ำขลุกขลิก
- โขลกพริกและหัวหอมที่เผาแล้วให้ละเอียด
ใส่เนื้อปลาลงโขลก ใส่หน่อไม้ที่ต้มกับใบย่านางแล้วลงไป ปรุงรสอีกครั้ง
ชิมดูรสตามความต้องการแล้วปล่อยให้เย็น โรยผัก
งาและพริกป่นที่เตรียมไว้ถ้าหากชอบรสเผ็ด
- จัดใส่จานรับประทานกับผักสดพื้นบ้าน
ก้อย เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบหลัก คือ
เนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ กุ้ง หอย ปลา หมู วัว ควาย ไข่มดแดง และสัตว์ป่าอื่น
ๆ เป็นต้น การก้อยจะหั่นเนื้อสัตว์เป็นชิ้นบาง ๆ อาจดิบหรือสุก โดยการย่าง ลวก
หรือนำส่วนผสมก้อยที่ปรุงดิบ นำไปคั่ว (ตั้งไฟอ่อน) ให้สุก ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า
น้ำปลา น้ำมะนาว หรือเครื่องปรุงรสเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะม่วงดิบ ตัวมดแดง
ตามด้วยพริกแห้งป่น ข้าวคั่ว หัวหอมซอยหรือต้นหอมหั่นฝอย หอมเป
(หอมห่อหรือผักชีฝรั่ง) ใบมะกรูด ใบสะระแหน่ ชิม ให้ออกรสเปรี้ยวนำ
รับประทานกับผักสดชนิดต่าง ๆ เช่น ลิ้นฟ้าเผา (เพกา) ยอดติ้วอ่อน ใบมะตูม อ่อน
ใบมะกอกอ่อน ถั่วฝักยาว มะเขือ แตงกวา เป็นต้น
การเรียกชื่ออาหารก็จะเรียกนำด้วยคำว่า “ก้อย”
ตามด้วยชนิดของเนื้อสัตว์นั้น ๆ เช่น ก้อยกุ้ง ก้อยหมู ก้อยไข่มดแดง
เป็นต้น เมื่อยามหน้าฝนเดือนหก ฝนตกพรำ ๆ แผ่นดินที่เคยแห้ง แล้งก็จะชุ่มฉ่ำ
ช่วงนี้จะมีเห็ดออกดอกเป็นจำนวนมาก ได้มีผู้คิดประดิษฐ์อาหารด้วยการนำมา ก้อย
ที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยแท้จริงคือ ก้อยเห็ดปลวก (เห็ดโคน)
จะแม่นแซบหลายเด้อแนวบ่มีเลือด
ก้อยไข่มดแดง
ก้อยไข่มดแดง
ส่วนผสม
1. ไข่มดแดง 300
กรัม
2. หัวหอมซอย 7
– 8 หัว
3. น้ำปลาร้า 2
ช้อนโต๊ะ
4. น้ำปลา 1
ช้อนโต๊ะ
5. น้ำมะนาว 1
ช้อนชา
6. พริกแห้งป่น 1.5 ช้อนโต๊ะ
7. ข้าวคั่วป่น 2 ช้อนโต๊ะ
8. ต้นหอมหั่นฝอย 3 ช้อนโต๊ะ
9. ใบสะระแหน่ 5
– 6 ต้น (เด็ดเป็นใบ)
วิธีทำ
นำไข่มดแดงล้างให้สะอาดใส่กระชอน
พักให้สะเด็ดน้ำ ใส่อ่างผสม
นำเครื่องปรุงทั้งหมดใส่คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ใส่พริกแห้งป่น ข้าวคั่วป่น หัวหอมซอย
ต้นหอมหั่นฝอยชิมรส ตักใส่จาน โรยหน้าด้วย ใบสะระแหน่และพริกชี้ฟ้าสด
ผักเครื่องเคียง
ผักที่นิยมรับประทานเป็นเครื่องเคียงได้แก่
ผักกะโดน เม็ก ติ้ว หนอก (บัวบก) มะเขือ ถั่วฝักยาว แตงกวา และอื่น ๆ
แกง เป็นการปรุงอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ
รสชาติเข้มข้น มีรสเผ็ดเค็มเป็นหลัก เครื่องปรุงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
เครื่องปรุงอื่น ประกอบด้วย เนื้อสัตว์เช่น ปลา
ปลาย่าง กบ เขียด หอยขม ไก่ หมู วัว ควาย ไข่มดแดงและแมลงต่าง ๆ เช่น แมงจินูน
ผักชนิดต่าง ๆ เช่น หน่อไม้สด หน่อไม้ดอง ฟักทอง ฟัก มะเขือ ผักหวาน หยวกกล้วย
หัวปลี ใบขี้เหล็ก สายบัว อีเลิด (ใบชะพลู) อีลอก บุก หวาย ผำ ขนุนอ่อน เป็นต้น
ส่วนผักที่นิยมใส่ในการแต่งกลิ่นเช่น ผักอีตู่ (ใบแมงลัก) ผักแขยง ผักชี ลาว
เป็นต้น ปรุงรสด้วยปลาร้า น้ำปลา เกลือ
น้ำที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นน้ำเปล่า
แต่แกงบางชนิดอาจใช้น้ำใบย่านาง เพื่อเพิ่มรสชาติ และ ลดรสขื่นของผัก เช่น
แกงหน่อไม้สด แกงขี้เหล็ก แกงขนุนอ่อน แกงหวายและแกงเห็ด ส่วนน้ำกะทิ
จะใช้น้อยมากในแกงพื้นเมืองอีสาน จะมีบ้างเช่น แกงหน่อไม้สด (ไผ่ตง)
แกงไก่หรือแกงปลาที่ใส่ วุ้นเส้นเป็นหลัก (บางครอบครัว)
แกงขี้เหล็ก
ส่วนผสม
1. ใบขี้เหล็กที่ต้มแล้ว (ต้มรินน้ำทิ้ง 2
ครั้ง) 500 กรัม
2. หนังวัวต้มหั่น หรือไข่มดแดง 100 กรัม
3. น้ำใบย่านาง 3 ถ้วยตวง
4. ต้นหอมตัดท่อนสั้น 1/4 ถ้วยตวง
5. ใบอีตู่ (แมงลัก) 1/4 ถ้วยตวง
6. ตะไคร้ ตัดท่อนยาว 2 นิ้ว 2 – 3 ชิ้น
ส่วนผสมน้ำพริกแกง
1. พริกแห้งหรือพริกสด 15 เม็ด
2. หัวหอมแดง 10
หัว
3. ตะไคร้หั่นฝอย 7 – 8 ต้น
4. เกลือ 2
ช้อนชา
5. น้ำปลาร้า 4
ช้อนโต๊ะ
6. น้ำปลา 2
ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
โขลกตะไคร้ พริกแห้งหรือพริกสด หัวหอมแดงพอหยาบ
ๆ ใส่เกลือ
นำน้ำใบย่านางที่โขลก
ใส่หม้อตั้งไฟใส่ใบขี้เหล็ก คนให้เข้ากัน ใส่ตะไคร้ พอเดือดปรุงรสด้วย น้ำปลาร้า
น้ำปลา ใส่หนังวัวหั่นหรือไข่มดแดง ต้มต่อไปให้เดือดอีกครั้ง ชิมรส
ใส่ผักแต่งกลิ่น ต้นหอม อีตู่ ยกลงรับประทาน
ไก่ย่าง เป็นอาหารยอดนิยมของคนอีสาน
ทุกบ้านทำไก่ย่างกินเองได้ ถ้าเป็นไก่บ้านนี้เนื้ออร่อยแซบที่สุดเลย
และเป็นตั้งแต่อาหารจานหลัก อาหารว่าง อาหารเรียกน้ำย่อย หรือกับแกล้ม
(ในวงเหล้าขาว 40 ดีกกรีของบ่าวไทบ้านได้ยอดเยี่ยมเลย)
ส่วนผสม
1.ไก่ขนาดกลาง 1 ตัว
2.ตะไคร้หั่นฝอย 3 ต้น
3.กระเทียม 1 หัว
4.รากผักชี 4-5 ราก
5.พริกไทยเม็ด 15-20 เม็ด
6.ข่าหั่น 1 แง่ง
7.เกลือป่น 1/2-1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.ควักเครื่องในออกล้างให้สะอาด ตัดขา
ตัดหัวออกด้วย โขลกเครื่องปรุงให้ละเอียด
2.โขลกข่า ตะไคร้ ขิง กระเทียม รากผักชี
พริกไทยเม็ด เกลือป่น ให้ละเอียดเติมซอสปรุงรส
แล้วเคล้ากับไก่แล้วหมักเนื่อไก่ไว้สัก 1/2 ชั่วโมง จนนิ่มได้ที่
3.ย่างไก่บนเตาถ่านด้วยไฟอ่อนจนสุกเหลือง หรือเอาเนื้อไก่ห่อฟอยล์แล้วนำไปย่างจนสุก ทำน้ำจิ้มไก่ตามใจชอบ
ส้มตำแคมหมู
ส้มตำแคบหมู อีกหนึ่งเมนูแนวส้มตำ มะละกอสับหยาบๆ เวลาเคี้ยวแซบคัก
ที่ถูกตำเข้ากับเครื่องต่างๆ ทำให้ได้รสชาติ เปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด ครบทุกรส
กินเปล่าๆหรือทานกับข้าวเหนียวก็เข้ากันได้ดี หรือ
ทานเป็นอาหารเพื่อสุขภาพหรือลดน้ำหนักก็ได้
ส่วน
แคบหมูเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวล้านนาไทยประเภทเครื่องเคียง รับประทานกับน้ำพริกและแกงคั่วต่าง ๆ
ในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาค ที่เห็นกันจนชินตา คือ
นำมารับประทานกับก๋วยเตี๋ยวเรือ ส้มตำ
ส่วนประกอบและเครื่องปรุง
1.มะละกอดิบหั่นฝอย 2 ถ้วยตวง
2.ถั่วฝักยาว 1/2 ถ้วยตวง (หั่นความยาวประมาณ 1″
)
3.แครอทหั่นฝอย 1/2 ถ้วยตวง (สูตรอีสานแท้ ๆ
ไม่ใส่เด้อ)
4.น้ำตาลปี๊บ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
(ถ้าเป็นสูตรอีสานแท้ๆ ไม่ใช้น้ำตาล)
5.น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
6.มะเขือเทศ 1/2 ถ้วยตวง (หั่นครึ่ง)
7.พริกแห้งหรือพริกสด 3-5 เม็ด เผ็ดตามใจมัก
8.กระเทียมสด 5 กลีบ
9.มะกอกนา 1 ลูก
10.น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
12.น้ำปลาร้า 1 ช้อนโต๊ะ
13.น้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต๊ะ
ขั้นตอนการทำ
1.สับมะละกอที่จัดเตรียมไว้
ให้ได้เส้นมะละกอหยาบ ๆ และแครอทหั่นฝอย 1/2 ถ้วยตวง
2.เตรียมครก กระเทียม พริกขี้หนู
โคกให้ละเอียดพอดีคลุกเคล้าให้เข้ากัน
3.จากนั้นใส่มะเขือเทศ มะกอกนา มะนาว น้ำปลาร้า
น้ำปลา น้ำตาลปี๊ปปรุงรสชาติให้อร่อย
4.ใส่เส้นมะละกอที่เตียมไว้ใส่ลงไปตำ
พอให้บุบไม่ต้องตำจนแลกละเอียด เดียวไม่อร่อยเด้อ
5.ตำ ๆ ๆ ค้น ๆ ให้เข้ากันกับเครื่องปรุง
ชิมได้ทีแล้วตักเสร็ฟใส่จาน แซบอีหลีมื้อหนี้
คอหมูย่างน้ำผึ้ง จิ้มแจ่วแซบสะเดิด
คอหมูย่างน้ำผึ้ง จิ้มแจ่วแซบสะเดิด
อาหารประเภทย่าง เป็นอีกหนึ่งเมนูการทำอาหารง่าย ๆ
ไม่มีขั้นตอนอะไรยุ่งยากสูตรอาหาร คอหมูย่าง เมนูอาหารอีสานสไตล์ง่ายๆ
เนื้อคอหมูหมักจนได้ที่ย่างให้สุกเหลืองสวย ทานคู่กับน้ำจิ้มรสเด็ด แซบ! สะใจ
ขั้นตอนทำง่าย ส่วนผสมไม่มากนัก. คอหมูอย่างจะอร่อยสมบูรณ์แบบ
ก็จะต้องไปด้วยกันกับน้ำจิ้มรสแซ่บกับสูตรการหมักคอหมูย่างอย่างพิถีพิถันเหมือนพระเอกกับนางเองนั่นเอง
ส่วนผสมและสูตรหมักคอหมูย่าง
1.เนื้อสันคอ ชิ้นกลางๆ 1 ชิ้น หรือ 500 กรัม
2.ซอสปรุงรส (น้ำมันหอย) 2 ช้อนโต๊ะ
3.เกลือ 1 ½ ช้อนชา
4.น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
5.น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
6.นมข้นจืด 1/4 ถ้วย
7.พริกไทยเม็ดโขลกละเอียด 1 ช้อนชา
8.กระเทียมสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
9.ผักชีสับละเอียด 1 ต้น
10. ซีอิ๊วขาว 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีการทำ
1.เตรียมเครื่องหมัก โดยโขลก กระเทียม รากผักชี
พริกไทยเม็ด เกลือ และน้ำตาลทราย ตักใส่ถ้วยเตรียมจัดเตรียมไว้แล้ว
2.แล่หมูเป็นชิ้น หนาพอควร ใช้ส้อมจิ้มให้ทั่ว
ใส่ส่วนผสมเครื่องหมักทั้งหมดเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ 2 ชั่วโมง หรือหมักค้างคืน
3.หลังจากนั่นนำเอา คอหมูหมัก
ขึ้นย่างด้วยไฟอ่อนจนสุกเหลืองสวยได้กลิ่นหอมของเครื่องหมักแล้ว จากนั่น
4.ในระว่างรอคอหมูย่างสุก
เตรียมน้ำจิ้มโดยการผสม น้ำปลา มะนาว และน้ำตาลทราย คนให้ละลายเข้ากัน จากนั้นใส่
พริกขี้หนู หรือพริกป่นแล้วแต่คนชอบ ใส่กระเทียม และหอมแดงซอย ลงไป คนให้เข้ากัน
ปรุงรสตามใจชอบเปรี้ยวหวาน
5.เมื่อคอหมูย่างสุกแล้ว
หั่นสไลซ์บางชิ้นพอดีคำ จัดใส่จานรองด้วยผักกาดหอม หรือ ตกแต่งผักโรสหน้าด้วยผักชี
และจัดแตงกาย ผักเครื่องเคียงเสิร์ฟพร้อมกับน้ำจิ้ม
ส่วนผสมน้ำจิ้ม
1.พริกป่น หรือ พริกขี้หนูสวน 1 ช้อน
2.กระเทียม 1 หัว
3.น้ำปลา 2 ช้อน
4.น้ำมะนาว หรือ น้ำมะขาม 2 ช้อน
5.น้ำตาลทราย 1/2 ช้อน
6.ผักชีหอม 1 ช้อน
วิธีการทำน้ำจิ้มคอหมูย่าง
1. นำส่วนผสมน้ำจิ้มต่างๆ ผสมให้เข้ากัน
ชิมรสตามชอบ
2. ใส่ผักชีต้นหอมลงไป พร้อมเสิร์ฟกับคอหมูย่าง
ปลานิลนึ่งมะนาว
ปลานิลนึ่งมะนาว
อาหารจานยอดนิยมของคนรักรสชาติจัดจ้านเผ็ดร้อน
ปลานิลเนื้อนุ่มนึ่งกับมะนาวได้รสชาติที่กินแล้วอยากอาหารมากยิ่งขึ้น
ส่วนผสม
1. ปลานิล 1 ตัว
2. ใบมะกรูด 1/4 ถ้วย
3. ข่า 1/4 ถ้วย
4. ตะไคร้ 1/4 ถ้วย
5. มะนาว 2-3 ลูก
6. น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
7. เกลือ 1 ช้อนชา
8. พริกขี้หนู 4-5 เม็ด
9. ผักชี 1 ช้อนโต๊ะ
10.กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1.ล้างปลาให้สะอาดโดยขอดเกล็ดให้เรียบร้อย
2.ทุบตะไคร้และหั่นเป็นท่อนๆ
แบ่งไว้ใส่ก้นถ้วยเวลานึ่งด้วยค่ะ ใส่ไปในท้องปลารวมทั้งข่าและใบมะกรูด
เพื่อลดกลิ่นคาว
3.เอาตะไคร้ที่เหลือมาทุบๆแล้วางรองก้นชาม
ใบมะกรูดวางรองลงไปด้วย
4.เอาปลาที่ล้างแล้ววางทับลงไปแล้วก็เอาไปนึ่งไฟแรงๆ
15-20 นาทีขึ้นอยู่กับว่าปลาตัวใหญ่ตัวเล็ก
5.ทำน้ำจิ้มราดโดย ใส่น้ำมะนาว น้ำปลา
น้ำตาลทราย พริก กระเทียมลงไปคนๆให้เข้ากัน ชิมรสให้ได้รสที่ชอบ
6.พอปลาสุกแล้วก็เอาน้ำจิ้มที่ได้ราดไปบนตัวปลา
โรยผักชีต้นหอม ปิดฝานึ่งต่ออีก 2-3 นาทีก็ปิดไฟยกลงทานได้เลยค่ะ
ยำทะเลรวมมิตร
เมนูมื้อนี้ หันมาทานอาหารละเทสักมื้อ
ยำรวมมิตรทะเล กับวิธีการง่าย
ขั้นตอนไม่ยุ่งยากก็จะได้อิ่มไปพร้อมกับความแซบ!
ส่วนผสม
1. ปลาหมึกกล้วย 1 ตัว
2. กุ้งสด 8-10 ตัว
3. หัวหอมใหญ่ 1 ลูก
4. มะนาว 2-3 ลูก
5. น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
6. น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
7. พริกขี้หนู 4-5 เม็ด
8. ขึ้นฉ่าย 2 ต้น
ส่วนผสมของน้ำยำ
1. รากผักชี 1 ช้อนโต๊ะ
2. กระเทียม 1 ช้อนโต๊ะ
3. พริกป่น 1/2 ถ้วย
4. พริกแดง 2 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำมะนาว 1/2 ถ้วย
6. น้ำตาล 1/4 ถ้วย
7. น้ำปลา 1/4 ถ้วย
8. ใบมะกรูด 1/4 ถ้วย
วิธีทำ
1. นำปลาหมึก แล้างทำความสะอาด หั่นเป็นชิ้น ๆ พอดีคำ
จากนั้นล้างทำความสะอาดกุ้ง ผ่าหลังเอาเส้นดำออก พักไว้
2. ซอยหัวหอมใหญ่ หั่นขึ้นฉ่าย แล้วพักไว้
จากนั้นนำปลาหมึกและกุ้งมาลวกในน้ำเดือดพอสุก ตักใส่ชามที่จะใช้ผสม
3. ปรุงรสน้ำยำด้วยมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย
พริกขี้หนูตามใจชอบลงในชามที่เตรียมไว้
4. จากนั้นนำหัวหอมซอย และขึ้นฉ่าย
คลุกเคล้าให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน ตักใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น